05 เมษายน 2562

บทความเผยแพร่ เด็กกับมือถืออันตรายหรือไม่

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
เด็กกับมือถือ อันตรายหรือไม่?


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. จิรภรณ์ อังวิทยาธร
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://images.globes.co.il/images/NewGlobes/big_image_800/2015/e06_stock800.jpg

จากการศึกษาของ Dr. Jenny Radesky กุมารแพทย์แห่งศูนย์การแพทย์บอสตัน สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการของเด็ก ได้ศึกษาพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ที่รับประทานอาหารในร้านอาหาร พบว่า พ่อแม่ 55 คนใช้สมาร์ทโฟนในระหว่างการรับประทานอาหาร แม้ว่าเด็กจะร้องไห้ หรือแสดงพฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่จะสนใจการพูดคุยโทรศัพท์มากกว่าลูก Dr. Radesky กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ภาษา เรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของตนเองโดยการเฝ้าดูอากัปกิริยา การสนทนา และการแสดงออกทางสีหน้าของผู้คนที่อยู่รอบตัว หากเด็กหรือพ่อแม่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าจอ เด็กจะขาดการเรียนรู้ดังกล่าวซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ เด็กจะต้องการให้ผู้อื่นตอบสนองต่อตนเองในแบบอย่างเดียวกับที่สมาร์ทโฟนตอบสนอง คือ ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีสีสัน บางครั้งอาจถึงขั้นก้าวร้าว 

ในเรื่องของอันตรายจากรังสีที่แผ่จากหน้าจอของเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัยต่าง ๆ ยังมีข้อขัดแย้งกันว่า รังสีนั้นมีผลต่อสมองหรือไม่ อย่างไร บางรายงานกล่าวว่ารังสีจากหน้าจอเครื่องมือดังกล่าว ไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายต่อสมอง ถึงกระนั้นก็ตาม อย่าเพิ่งรู้สึกโล่งใจ มีรายงานด้วยว่าความถี่คลื่นวิทยุที่ปลดปล่อยออกมา อาจเป็นอันตรายต่อการพัฒนาสมองของเด็ก 





บทความนี้มิได้ต่อต้าน หรือห้ามการใช้หรือเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นในโลกปัจจุบัน ประโยชน์ของเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ก็มีอยู่ ตัวย่างเช่น เกมส์ต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสายตา การใช้สายตาค้นหาสิ่งของ ช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นักวิจัยพบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตและการเล่นเกมส์มีประโยชน์ในเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ สื่อสาร เกิดความสัมพันธ์ในระหว่างเพื่อน 

อย่างไรก็ตาม ในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟน ทีวี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ในเด็กที่โตขึ้น ควรจำกัดเวลาการเล่นในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ผู้ปกครองควรเล่นไปด้วยกัน มีการพูดคุย โต้ตอบ เห็นหน้ากัน ไม่ควรมีสมาร์ทโฟนในห้องนอน ควรหาเกมส์ที่ส่งเสริมการสร้างคำศัพท์ต่างๆ ช่วยในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และเรียนรู้ทางด้านภาษา เกมส์ที่ไม่รุนแรงก้าวร้าว ไม่มีการใช้กำลังต่อสู้ห้ำหั่น ทำร้ายกัน 

ในวันหยุดต่างๆ ควรมีวันที่เด็กและผู้ใหญ่ ปลอดสมาร์ทโฟน ปลอดแท็บเบล็ต พาเด็กออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติ ดิน โคลน ต้นไม้ใบหญ้า ให้เท้าของเด็กได้สัมผัส ดิน โคลน หรือหญ้าบ้าง ตลอดจนเดินชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อย่าให้ภาพในจอมาแทนภาพในชีวิตจริง อย่าให้สมาร์ทโฟนเป็นของเล่นของเด็กแทนลูกบอลหรือตุ๊กตา อย่าให้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ต เลี้ยงดูลูกแทนพ่อแม่ 

เอกสารอ้างอิง
  1. How Do Smartphones Affect Childhood Psychology?(https://psychcentral.com/lib/how-do-smartphones-affect-childhood-psychology/)
  2. Is screen time good or bad for babies and children?(https://www.babycentre.co.uk/a25006035/is-screen-time-good-or-bad-for-babies-and-children)
  3. What Screen Time Can Really Do to Kids' Brains (https://www.psychologytoday.com/blog/behind-online-behavior/201604/what-screen-time-can-really-do-kids-brains)

แนะนำหนังสือน่าอ่าน





แนะนำหนังสือ ดีดี..
น้อมรำลึก ในหลวง ร.9..เผื่อคนรุ่นหลัง
ในหลวงทรงทำอะไร? ..ทรงทำเพื่อใคร? ..ทรงทำอย่างไร?

     เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้มีการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงงานร่วมกับองคมนตรี ถือว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์แห่งความเพียร และความมุ่งมั่นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       จึงเกิดความคิดที่จะจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น ซึ่งคงไว้ด้วยคุณค่าเรื่องราวขณะทรงงานกับองคมนตรี โดยจัดพิมพ์เสมอต้นฉบับทุกประการ เพื่อจำหน่ายในราคาย่อมเยา เล่มละ 199 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิอานันทมหิดล



       และหวังว่าหนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรีจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อ่านและเป็นขวัญกำลังใจในการมุ่งมั่นสร้างคุณงามความดีทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่างสืบไป

        หนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรี ถือเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงที่มาของคณะองคมนตรีที่เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงบทบาทหน้าที่ขององคมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมถึงประวัติองคมนตรีทั้ง 19 ท่านและได้อัญเชิญพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะองคมนตรีถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงาน มาจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกอีกด้วยนายสักฯ กล่าว
        ภายในงานมีการจัดเสวนาจากผู้ที่ได้อ่านหนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรี แล้ว 4 คนคือ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล  ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์  อาจารย์ประจำภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณวนิษา เรซ ผู้บริหารโรงเรียนวนิษา โดยแต่ละคนได้พูดได้อย่างน่าสนใจ
        นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ได้กล่าวถึงความประทับใจ โดยบอกว่า จากที่ตนได้ทำงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ (กปร.) ร่วมกับคณะท่านองคมนตรีหลายท่าน จึงถือเป็นบุญของชาว กปร.ที่ได้ทำงานกับฟ้า คือพระองค์ท่าน และกับดิน คือประชาชน


        พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชนมากมายล้นพ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานโดยมีหลัก 3 อย่างคือ ความเข้าใจ, เข้าถึง และจึงพัฒนา ความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า ภูมิสังคมเข้าใจภูมิ ประเทศทั้งหมด
        เข้าใจสังคมคือ ประชาชน ส่วนการเข้าถึง จะเห็นว่า พระองค์ทรงเข้าถึงประชาชน ทรงซักถามข้อมูลต่างๆ จากประชาชนรอบด้าน จากนั้นทรงนำข้อมูลเหล่านั้นมาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพัฒนาจนพระราชทานเป็นโครงการพระราชดำริ
        หนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรีเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างมาก มีภาพประวัติศาสตร์ต่างๆและหนังสือเล่มนี้ยังได้พูดถึงบทบาทหน้าที่ของคณะองคมนตรี ว่ามีหน้าที่อย่างไรและความประทับใจของคณะองคมนตรีที่ได้ทำงานร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 19 ท่าน ในด้านต่างๆจากองคมนตรีที่ได้ทำงานในด้านนั้นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางทหาร เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงฯและอีกในหลายๆเรื่อง
        นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ยังกล่าวต่ออีกว่าเยาวชนรุ่นหลังอาจจะยังไม่ได้สัมผัสถึงการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนี้ด้วยพระพลานามัย  แต่พระองค์ท่านยังทรงติดตามสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ตลอดเวลา
        ถ้าเยาวชนได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้รู้ว่าพระองค์ท่านที่ได้ทรงพระราชดำเนินไปในทุกๆที่เพื่อที่จะทรงงานให้กับประชาชน เมื่อทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้สำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ซึมซับพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ได้ทรงงาน และตามรอยพระยุคลบาทเป็นคนดีของประเทศต่อไป
        นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล  ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวถึงความประทับใจของตนเองว่า หนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรีจะสามารถเข้าถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านข้อเขียนของคณะองคมนตรี ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีความไม่เข้าใจของคนไทยในหลายๆเรื่อง
       โอกาสนี้จะทำให้ประชาชนได้เข้าใจว่าองคมนตรีมีหน้าที่ในการรับใช้สนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไร
        “คำสั้นๆ ที่ท่านประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติลสูลานนท์ กล่าวว่าพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น  แต่ทรงแพร่ไปยังสัตว์ สิ่งแวดล้อม ต่างๆอีกมากมาย เป็นข้อความที่ประทับใจมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดถึงเรื่องของพระองค์เองน้อยมาก
        ทรงคิดถึงแต่คนส่วนใหญ่ เรื่องเหล่านี้ควรเป็นเรื่องที่ทุกคนควรน้อมนำไปปฏิบัติ ความสุขที่ได้จากการให้เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน
        พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างให้คนไทยทั้งหลายมีจิตสำนึกว่าการเสียสละ การให้ที่ไม่หวังผลอะไรตอบแทน เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
        ทางด้านศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์  อาจารย์ประจำภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทสศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานครั้งนี้ถึงความประทับใจว่า
        หนังสือเล่มนี้มีการแปลอีกสองภาษา เป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
        ชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงพระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักวิชการชาวต่างชาติจะพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของเรามาก ซึ่งเราไม่สามารถหาข้อมูลต่างๆได้จากที่ไหน ทำให้ดีใจมากที่ได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพราะหนังสือเล่มนี้มีข้อมูลต่างๆ มากมาย
        หนังสือเล่มนี้บอกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงตรัสถึงเรื่องยอดปิรามิดหัวคว่ำ ว่าพระองค์ท่านนั้นอยู่ล่างสุดรับใช้พี่น้องประชาชนคนไทย เป็นสิ่งที่ผู้นำทุกภาคส่วนควรนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างมาก
        ทางด้านคุณวนิษา เรซ ผู้บริหารโรงเรียนวนิษา ได้เล่าถึงความประทับใจที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์ท่านทรงเป็นต้นแบบ พระองค์ท่านครบไปหมดทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ดนตรี หรือแม้กระทั่งด้านกีฬา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบของความเป็นอัจฉริยะ เพราะเชื่อว่าคนเราไม่ว่าจะฉลาดแค่ไหนไม่สำคัญว่านำความฉลาดมาทำอะไร เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อโลกไหม
         แต่กับสิ่งที่พระองค์ท่านทำแสดงให้เห็นว่าหน้าที่ของกษัตริย์ต้องไปทุกๆ ที่ในประเทศ ซึ่งพื้นที่ๆ ท่านไปนั้นมีความยากลำบากมากแต่ท่านก็ยังทรงพระราชดำเนินดำเนินไป นอกจากจะห่วงใยประชาชนจริงๆแล้วนั้น จิตใจพระองค์ท่านจะต้องเข้มแข็งมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยะภาพมากเรื่องของแผนที่ พระองค์ท่านทรงอ่านแผนที่ 1 ต่อ 50,000ได้ในพื้นที่ที่ใช้แสงเทียนได้ การอ่านอะไรอย่างนี้จะต้องจำจนขึ้นใจแล้ว
       ซึ่งหนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรีเล่มนี้แสดงให้เราเห็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะยอมเหนื่อยและทำได้แบบพระองค์ท่านที่ทรงพระราชดำเนินไปในทุกๆที่โดยไม่กังวล
       หนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรีรวบรวมบทความที่องคมนตรีทุกท่านได้บรรจงร้อยเรียงเรื่องราว ถ่ายทอดเหตุการณ์และความรู้สึกประทับใจในการถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาท
        ในมุมมองและลีลาการเรียบเรียงที่หลากหลาย ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงแนวพระราชดำริที่ลึกซึ้ง
        เบื้องหลังพระราชกรณียกิจและโครงการตามพระราชดำริ 
        น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงรักและห่วงใยพสกนิกร ตลอดจนพระราชจริยวัตรอันงดงามในการทรงงานเพื่อความสุขสวัสดีของพสกนิกรชาวไทยไว้อย่างน่าประทับใจ
        นับเป็นหนังสือที่จะสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้อ่าน ปลุกขวัญและกำลังใจในการหมั่นสร้างคุณงามความดีทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสืบไป
…………………………………..
เครดิต ณพาภรณ์ ปรีเสม
ขอบคุณค่ะ

16 สิงหาคม 2561

รณรงค์เลิกบุหรี่


      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคจากบุหรี่
        สำนักโรคไม่ติดต่อ  กรมควบคุมโรค ร่วมกับ  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยแพร่เอกสารแผ่นพับอันตรายร้ายแรงของการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหืดและโรคภูมิแพ้ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบ  เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้เลิกสูบบุหรี่ให้ได้นพ.ภานุวัฒน์  ปานเกตุ  ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ  กรมควบคุมโรค  เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  กระทรวงสาธารณสุข  มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2551  ดังนี้  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  388,551  คน  โรคความดันโลหิตสูง  498,809  คน   ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด  1,108,026  คน ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  124,532  คน และผู้ป่วยโรคหืด 113,530 คน รวมผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 5 โรค 2,229,448  คน  หากอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเหล่านี้เท่ากับของประชากรทั่วไปคือ  ประมาณร้อยละ  20  จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ประมาณ  445,890  คน 
นพ.ภานุวัฒน์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าพิจารณาจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง     โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บปี 2550 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักโรคไม่ติดต่อเอง  จะพบว่า  ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15  74 ปี  ที่บุคลากรสาธารณสุขเคยบอกว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยประมาณ  ดังนี้  โรคเบาหวาน  1.8 ล้านคน  โรคความดันโลหิตสูง 4.3  ล้านคน  โรคหัวใจขาดเลือด  0.7  ล้านคน  โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  0.5  ล้านคน  และโรคหืด  0.6  ล้านคน  รวม  7.9  ล้านคน  เพราะฉะนั้น  จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่สูบบุหรี่ประมาณ 1.6  ล้านคน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคจากบุหรี่


 ซึ่งการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วจะทำให้โรคทรุดลงเร็วขึ้น  เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงและเร็วขึ้น เช่น ไตวายเร็วขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  หัวใจวายเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น  และทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาเพิ่มมากขึ้น  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งผู้ป่วย ญาติ และ              ทีมผู้ให้บริการผู้ป่วยในการชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจและพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ให้ได้      ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้    แต่ละคนอาการดีขึ้น  รักษาง่ายขึ้นและเกิดโรคแทรกซ้อนช้าด้าน ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวว่า  แพทย์และทีมงานควรจะใช้โอกาสที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้มาติดตามรับการรักษา  ย้ำเตือนและแนะนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับการรักษา  เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนต้องการให้โรคของตัวเองดีขึ้น  ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ายาอื่น ๆ ที่เขาใช้รักษาโรคประจำตัวของเขากรมควบคุมโรคจะได้แจกจ่ายแผ่นพับอันตรายของการสูบบุหรี่ในโรคเรื้อรัง 5 โรค ดังกล่าว  แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ  เพื่อส่งต่อให้คลินิคโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ  ทั้งนี้แผ่นพับที่ผลิตขึ้นยังได้มีข้อแนะนำสำหรับการเลิกสูบบุหรี่พิมพ์อยู่ด้วย




15 สิงหาคม 2561


กลุ่มโรคที่เกิดจากสุรา




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคที่เกิดจากการดื่มสุรา1. กลุ่มโรคทางระบบประสาท (Unipolar major depression), (Epilepsy), (Alcohol-use disorders)
1. โรคเวนิคเค ; ความจำเสื่อมอย่างมาก สติสัมปชัญญะสับสน(Wernike Syndrome)
2. โรคคอร์ซาคอฟท์ ; ความจำเสื่อมไม่รู้จักเวลา สถานที่ บุคคล และพูดไม่จริงอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา (Korsakoff’s Syndrome )
3. โรควิกลจริต (Alcoholic dementia )
4. โรคหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เสียการควบคุมด้านอารมณ์(Neonatal irritability)
5. การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า (Retarded growth and development)
6. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
7. ความกังวล กลุ้มใจ เป็นทุกข์ , ความตกต่ำ(Anxiety, depression)
8. กระบวนการการรับรู้ ความเข้าใจ บกพร่อง / ขาดสติ(Cognitive deficits)
9. ความกังวลใจกับการดื่ม (Worry about drinking)
10. โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวงเพราะพิษสุรา (Alcoholic paranoid)
11. โรคจิตหลอน / ประสาทหลอน (Alcoholic halluciosis)
12. โรคคลั่งเพ้อ เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง(Toxic psychosi or Delirium tremens)
13. โรคสมองพิการ ,การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย (Ataxia due to cerebella dysfunction)
14. โรคความจำเสื่อม
15. กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขา อ่อนแรง / ปลายประสาทพิการ (Alcoholic Peripheral myopathy)
16. โรคจิตจากสุรา (Alcoholic psychosis)
17. โรคประสาทเสื่อมจากสุรา(Alcoholpolyneuropathy)
18. โรคซึมเศร้า (Depression)
19. โรคลมชัก (Epilepsy)
20. โรคระแวงเพราะสุรา (Alcoholic paranoia)

2. กลุ่มโรคมะเร็งอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่นในระบบทางเดินอาหารส่วนบน ทรวงอก ตับ
1. มะเร็งในปากและช่องปาก(Oropharyngeal cancer)
2. มะเร็งหลอดอาหาร (Oesophageal cancer)
3. มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon and rectum cancer)
4. มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)
5. มะเร็งตับ ( Liver cancer)
6. มะเร็งเต้านมในผู้หญิง (Female breast cancer)
7. มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)

3. กลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ
1. โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Pancreatitis / Acute )
2. โรคเบาหวาน (เกิดจากตับอ่อนอักเสบ)
3. โรคตับอักเสบ (Fatty liver Hepatitis)
4. โรคตับแข็งจากสุรา (Alcohol liver cirrhosis )
5. โรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง (Acute and chronic pancreatic)
6. โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือโรคกระเพาะอักเสบจากสุรา(Alcohol gastritis)
7. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากน้ำย่อย (Peptic ulcers)
8. โรคต่อมหมวกไต (Pituitary)
9. โรคเกาต์(Gout)
10. โรคพิษสุราเรื้อรัง

4. กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ
1. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากสุรา (Cardio myopathy)
2. หัวใจทำงานบกพร่อง,โรคหัวใจ (Cardio vascular defects)
3. ความดันโลหิตสูง (Hypertension with hyperlipidemia)
4. โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (กามตายด้าน)( Impotent)
5. สมองส่วนนอกลีบฝ่อ
6. อาการระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน (Excess blood alcohol)
7. โรคหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Cardiac arrhythmias)
8. โรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

5. อุบัติเหตุและการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional injuries)
1. ปัญหาด้านกฎหมาย / ความสามารถในการขับขี่ลดลง / ความสูญเสียจากการขับรถ Legal problems (Impaired driving)
2. การหกล้มและจมน้ำ
3. การตายจากการฆาตกรรม
4. กลุ่มผลกระทบต่อสุขภาพแบบฉับพลัน ( Accidental injury)
5. การถูกสารพิษ (Poison)
6. การฆ่าตัวตาย (Suicide)
7. ความรุนแรงและการทำร้าย (Interpersonal violence and assaults)

โรคทางตรงและโรคทางอ้อมอื่นๆ
1. โรคแพ้พิษสุรา / อาการเมาเหล้า (Pathologic intoxication หรือ alcohol intoxication)
2. ทำให้ยากจนลง (Poor coordination)
3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (เกิดจากการขาดสติเพราะดื่มสุรา) เช่นโรคเอดส์ กามโรค
4. โรคผิวหนัง
5. จิตใจเฉื่อยชา (Mild to moderate mental retardation )
6. ขาดความปลอคภัยในครอบครัว การทำงาน และปัญหาสังคม (Family discord work and social problems )
7. ความต้านทานต่อแอลกอฮอล์มากขึ้น( Increased tolerance to alcohol )
8. ปัสสาวะมากผิดปกติ (Hyperuricemia)
9. ความบกพร่องของความตึงกล้ามเนื้อ (Hypotonia)
10. โรคไมโครเซฟาลี เป็นอาการกะโหลกศรีษะและสมองเล็กกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการพิการ อื่นๆเช่น ไมโครไจเรีย (Microcephaly)
11. เด็กจะอยู่ไม่นิ่งและทำให้มีพฤติกรรมแสดงออกที่โรงเรียนไปในทางที่ไม่เหมาะสม (Chilhoodhyperactivity and impaired school performance)
12. โรคกระดูกสันหลังพรุน
13. โรคปอดบวม
14. โรคติดสุรา (Alcohol -dependence syndrome)
15. โรคใช้สุราเกินขนาด (Alcohol abuse)
16. อาการเอทธานอลเป็นพิษ(Ethanol and Methanol toxicity)
17. โรคเลือดออกในสมอง (Haemorrhagic stroke)
18. โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension)
19. กลุ่มโรคความผิดปกติของเด็กในครรภ์ที่มารดาดื่มแอลกอฮอล์(Fetal Alcohol Spectrum Syndrome)

ผลต่อทารกจากกการดื่มสุราของมารดา
1. ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย (Fetal alcohol syndrome)
2. ปากแหว่งเพดานโหว่ (Craniofacial abnormality)
3. ดวงตาและกรามมีขนาดเล็ก
4. สมองเล็กกว่าปกติ
5. หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
6. แขน-ขาเจริญเติบโตผิดปกติ
7. ความสามารถในการดูน้อยกว่าทารกปกติ
8. ร้องกวนโยเยง่าย
9. รูปร่างแคระแกรน
10. นอนหลับยาก
11. ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ




ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อ้อมน้อยไอที สาระดีดีเพื่อเยวชน ชุดพิเศษ ..ยาไอซ์

ยาไอซ์ วัยรุ่นอยากผอมอยากขาวแต่อาจตายได้ (Momypedia)
http://www.youtube.com/watch?v=8aXUti_7s0Q
          ยาไอซ์ มีชื่อทางเคมีว่า เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ ที่อยู่ในรูปเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือยาบ้า แต่ยาไอซ์มีความบริสุทธิ์สูงกว่ายาบ้า 4-5 เท่า ดังนั้น เมื่อเสพแล้วจึงออกฤทธิ์เร็วและแรงกว่ายาบ้า    ชื่อ ยาไอซ์ หรือ "ICE" เรียกตามลักษณะ คือ ก้อนผลึกใสเหมือนน้ำแข็ง ปัจจุบันจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ยาเสพติดร้ายแรงตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาไอซ์ที่ลักลอบขายในปัจจุบันนอกจากจะเป็นผลึกใส หรือผงสีขาวละเอียดแล้ว ยังมีสีชมพู สีฟ้า หรือเขียว รวมทั้งมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น meth, crystal meth, shabu, glass, krank, tweak และ tina


ความเชื่อที่ทำให้วัยรุ่นเสพยาไอซ์
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะผอม หุ่นดี ช่วยลดน้ำหนัก
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะผิวสวย ผิวขาว
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะสวยหล่อ
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะไม่มีกลิ่นตัว
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะสมองดี เรียนเก่ง
           เชื่อว่าเสพยาไอซ์แล้วจะมีกำลังเยอะ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาไอซ์
        เมื่อเสพยาไอซ์เข้าร่างกายแล้ว ยาไอซ์จะแสดงอาการและฤทธิ์ยานาน 8-24 ชั่วโมง และยังจะมีสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายหลายวัน วิธีการเสพยาไอซ์จะออกฤทธิ์ในเวลาที่ต่างกันดังนี้
           สูดควันหรือไอระเหย ออกฤทธิ์ทันที
           สูดผงยาเข้าโพรงจมูก ออกฤทธิ์ภายใน 3-5 วินาที
           ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ออกฤทธิ์ภายใน 15-30 วินาที
           กินโดยตรง ออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที
อาการเมื่อเสพยาไอซ์และโทษของยาไอซ์
          สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ระบุว่า ความเชื่อที่ทำให้วัยรุ่นเสพยาไอซ์ไม่เป็นความจริง เพราะยาไอซ์เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดรุนแรง แม้เสพยาไอซ์ในปริมาณน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ โดยอาการเมื่อเสพยาไอซ์มีดังนี้ ไม่รู้สึกอยากอาหารซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลง แต่เมื่อเลิกเสพก็จะน้ำหนักตัวขึ้นปกติหรือเกิด "โยโย่เอฟเฟกต์" ผิวซีด ผิวแห้ง และค่อย ๆ ดำคล้ำเมื่อเสพติดเป็นเวลานาน อารมณ์ดี ตื่นเต้น และพูดมากหลังจากเสพยาเพียงไม่กี่นาที เริ่มย้ำคิดย้ำทำ พูดซ้ำ ๆ หวาดระแวง รูม่านตาขยาย การมองพร่ามัว เหงื่อออกมาก วิงเวียน ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการหายใจสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและ มือและนิ้วสั่น และมีภาวะผิดปกติเสียหายอย่างถาวรของเส้นโลหิตในระยะยาว เซ็กส์เสื่อม หมดความรู้สึกทางเพศ อาการประสาทหลอนนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง สมองทำงานน้อยลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว และอาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

สภาพหลังเสพติดยาไอซ์






07 มิถุนายน 2560

คณะครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓


ด้วยความรักความผูกพันของคุณครูผู้มีอุดมการณ์เดียวกัน
เราตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อเยาวชน



เรียงจากซ้ายของภาพไปขวา
ครูปทุมวดี  ศรีปะย่า                วิชาคณิตศาสตร์ และ ประจำชั้น ๓/๓ เทอม ๒
ครูสริยา  จังสิริวัฒานา           ประจำชั้น ๓/๔
ครูกนกพร  สุทธิประภา          วิชาวิทยาศาสตร์ และ ประจำชั้น ๓/๑
ครูพรรณี  ศรีธรรมมา              ประจำชั้น ๓/๓ (เกษียณอายุราชการ เทอม๒)
ครูณรงค์  ธงชัยขาวสอาด      ประจำชั้น ๓/ู๖ (เกษียณอายุราชการ เทอม๒)
ครูจินตนา  สุขพูล                   วิชาประวัติศาสตร์ และ ประจำชั้น ๓/๕
ครูสิรภัค  สุขมณี                     ประจำชั้น ๓/๒
ครูอุษณีย์  นพคุณ                  วิชาสังคมศึกษา,หน้าที่พลเมือง,อังกฤษเสริม และ ประจำชั้น ๓/๖
ครูยุภาลัย  มะลิซ้อน               วิชาภาษาอังกฤษ

สายสัมพันธ์พี่-น้อง


กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่

11 กุมภาพันธ์ 2560

10 เมืองหลวงอาเซียน

เมืองหลวงอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ มีดังนี้
·         ประเทศไทย เมืองหลวงคือ กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยบริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ราว 1,569 ตารางกิโลเมตร มีคนอาศัยอยู่มากกว่า 10 ล้านคน (ทั้งแบบตามทะเบียนบ้านและแบบแรงงานย้ายถิ่น) กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ โดยย้ายเมืองหลวงมาจากกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ฟากตรงข้าม มีแม่น้ำเจ้าพระยากั้นกลาง เนื่องจากกรุงเทพมหานคร (ชื่อเดิมคือจังหวัดพระนคร) มีชัยภูมิที่ดีกว่า ง่ายต่อการรักษาพระนครในกรณีถูกข้าศึกรุกราน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน การบริหาราชการแผ่นดิน การเมืองการปกครองของประเทศไทย และยังแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหารสูงสุด
·         ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
กรุงจาร์กาตาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย เดิมชื่อว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 720 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 13 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนาแน่น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ทันสมัยและสวยงาม กรุงจาร์กาตาเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง แหล่งการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอีกด้วย
·         ประเทศสิงคโปร์ เมืองหลวงคือ สิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ โดยใช้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงเนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมมาลายู มีเนื้อที่เพียง 697 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 5,300,000 คน สิงคโปร์ถึงแม้จะไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่ก็นับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก โดยเป็นศูนย์ทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุนของภูมิภาค และถึงแม้จะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่ก็มีบริษัทต่างชาติมาตั้งสำนักงานจำนวนมากมาย มีสนามบินและระบบขนส่งภายในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้สูง มีแหล่งท่องเที่ยวมีเป็นจุดดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมากมาย
·         ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของบรูไน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงที่มีเนื้อที่ขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 100,000 คน ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ก่อนจะกลับมาใช่ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว
·         ประเทศพม่า เมืองหลวงคือ กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw)
กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า
กรุงเนปิดอว์ถูกสถานปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่าหรือเมียนม่าร์แทนกรุงย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่ามาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ด้วยเหตุผลหลักในด้านการบริหารประเทศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกรุงเนปิดอว์ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศพอดี ปัจจุบันกรุงเนปิดอว์ยังอยู่ในช่วงของการสร้างเมือง ถนนหนทาง แหล่งธุรกิจ โรงแรม ไม่ยังเสร็จสมบูรณ์นัก แต่ด้วยเหตุที่พม่าเพิ่งเปิดประเทศ (หลังจากปิดประเทศมาตั้งแต่สมัยทหารเข้ายึดอำนาจการปกครอง) จึงสามารถกล่าวได้ว่าในประเทศพม่านั้น ถนนทุกสาย นักลงทุนจากทั่วโลก กำลังมุ่งไปสู่กรุงเนปิดอว์ทั้งสิ้น
·         ประเทศลาว เมืองหลวงคือ กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)
กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงลาว
เวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาวในเขตลุ่มแม่น้ำโขง โดยอยู่ติดกับจังหวัดหนองคายของประเทศไทย เวียงจันทน์เป็นเมืองโบราณมีอายุมากกว่าหนึ่งพันปี โดยสถาปนาเป็นเมืองหลวงตั้งแต่สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญที่สุดของประเทศลาว มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด โดยมีประชากรราว 700,000 คน โดยในยุคการล่าอาณานิคม เวียงจันทน์เคยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส
·         ประเทศเวียดนาม เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย (Ha Noi)
กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม
ฮานอยเดิมเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนามเหนือ เมื่อเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามและได้รวมเวียดนามใต้เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว จึงสถาปนาให้ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ (เดิมเมืองหลวงของเวียดนามใต้คือไซง่อน หรือเมืองโฮจิมินห์ในปัจจุบัน) กรุงฮานอยก็เช่นเดียวกับเมืองหลวงอื่นๆในอาเซียนที่เป็นเมืองใหญ่และเมืองสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูยน์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ แต่ในประเทศเวียดนามนั้น เมืองที่ใหญ่ที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางทะเลคือเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
·         ประเทศมาเลเซีย เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย
กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซียนั้นตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ (ใกล้ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ 94 ตารางไมล์ หรือ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ถึงแม้จะมีการย้ายศูนย์การบริหารประเทศไปที่เมืองปุตราจายาแล้ว แต่ส่วนอื่นๆที่สำคัญของประเทศยังอยู่ที่เดิม โดยปกติแล้วชาวมาเลเซียจะเรียกกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า เคแอล, KL” ซึ่งเป็นตัวย่อของ Kuala Lumpur นั่นเอง
·         ประเทศกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
กรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราชธานีพนมเปญ ตั้งอยู่ทางตอนกลาง (ค่อนไปทางใต้ของประเทศ) มีเนื้อที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรหนาแน่นราว 2,000,000 คน พนมเปญถือว่าเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ ในยุคล่าอาณานิคมพนมเปญตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953
·         ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา (Manila)
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ (จากจำนวนมากกว่า 7,000 เกาะ) เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และการอุตสหากรรมของประเทศ ตัวเมืองของกรุงมะนิลามีเนื้อที่เพียง 39 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน แต่ถ้านับชานเมืองด้วยจะมีเนื้อที่ 1,475 ตารางกิโลเมตร แต่จะมีประชากรมากถึง 22 ล้านคน ซึ่งนับว่ามีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาก ในสมัยการล่าอาณานิคม กรุงมะนิลาตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสเปนและอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศสหรัฐอเมริการวม 400 ปี
เมืองหลวงอาเซียนทั้ง 10 เมือง เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า การลงทุน การเงินการธนาคารของประเทศนั้นๆ มีข้อสังเกตุอยู่ข้อหนึ่งคือในความจริงแล้วประเทศสิงค์โปร์นั้นไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นประเทศที่เล็กมาก จึงใช้ประเทศทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงไปเลย ส่วนเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในอาเซียนคือกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย


โพสต์ล่าสุดที่ขอแนะนำ

รอบรู้อาเซียน ตอน อาหารอร่อย น่าลอง

อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน National Dishes of ASEAN      ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารของชาวอาเซียนไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก อาหารชนิด...