16 สิงหาคม 2561

รณรงค์เลิกบุหรี่


      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคจากบุหรี่
        สำนักโรคไม่ติดต่อ  กรมควบคุมโรค ร่วมกับ  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยแพร่เอกสารแผ่นพับอันตรายร้ายแรงของการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหืดและโรคภูมิแพ้ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบ  เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้เลิกสูบบุหรี่ให้ได้นพ.ภานุวัฒน์  ปานเกตุ  ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ  กรมควบคุมโรค  เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  กระทรวงสาธารณสุข  มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2551  ดังนี้  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  388,551  คน  โรคความดันโลหิตสูง  498,809  คน   ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด  1,108,026  คน ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  124,532  คน และผู้ป่วยโรคหืด 113,530 คน รวมผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 5 โรค 2,229,448  คน  หากอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเหล่านี้เท่ากับของประชากรทั่วไปคือ  ประมาณร้อยละ  20  จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ประมาณ  445,890  คน 
นพ.ภานุวัฒน์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าพิจารณาจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง     โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บปี 2550 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักโรคไม่ติดต่อเอง  จะพบว่า  ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15  74 ปี  ที่บุคลากรสาธารณสุขเคยบอกว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยประมาณ  ดังนี้  โรคเบาหวาน  1.8 ล้านคน  โรคความดันโลหิตสูง 4.3  ล้านคน  โรคหัวใจขาดเลือด  0.7  ล้านคน  โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  0.5  ล้านคน  และโรคหืด  0.6  ล้านคน  รวม  7.9  ล้านคน  เพราะฉะนั้น  จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่สูบบุหรี่ประมาณ 1.6  ล้านคน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคจากบุหรี่


 ซึ่งการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วจะทำให้โรคทรุดลงเร็วขึ้น  เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงและเร็วขึ้น เช่น ไตวายเร็วขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  หัวใจวายเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น  และทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาเพิ่มมากขึ้น  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งผู้ป่วย ญาติ และ              ทีมผู้ให้บริการผู้ป่วยในการชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจและพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ให้ได้      ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้    แต่ละคนอาการดีขึ้น  รักษาง่ายขึ้นและเกิดโรคแทรกซ้อนช้าด้าน ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวว่า  แพทย์และทีมงานควรจะใช้โอกาสที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้มาติดตามรับการรักษา  ย้ำเตือนและแนะนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับการรักษา  เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนต้องการให้โรคของตัวเองดีขึ้น  ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ายาอื่น ๆ ที่เขาใช้รักษาโรคประจำตัวของเขากรมควบคุมโรคจะได้แจกจ่ายแผ่นพับอันตรายของการสูบบุหรี่ในโรคเรื้อรัง 5 โรค ดังกล่าว  แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ  เพื่อส่งต่อให้คลินิคโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ  ทั้งนี้แผ่นพับที่ผลิตขึ้นยังได้มีข้อแนะนำสำหรับการเลิกสูบบุหรี่พิมพ์อยู่ด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์ล่าสุดที่ขอแนะนำ

รอบรู้อาเซียน ตอน อาหารอร่อย น่าลอง

อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน National Dishes of ASEAN      ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารของชาวอาเซียนไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก อาหารชนิด...