11 เมษายน 2562

เผยแพร่ งานวิจัย










การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน      การใช้นิทานคุณธรรม (สื่อมัลติมีเดีย) เป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียน แสดงความคิดเห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา       
          จากการสอนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (หน่วยที่ 4 การปฏิบัติตนเป็นคนดี)  ชั้น ป.3 ด้านทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า เมื่อครูกำหนดหัวข้อให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมต่างๆ นักเรียนมักจะไม่สามารถคิดแสดงความคิดเห็นที่เขียนได้มากพอ ไม่อ่านในหนังสือเพิ่มเขียน มักจะติดขัด วกวนและหลายคน เขียนเป็นข้อๆ สั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง สิ่งที่เป็นความคิดไม่ตรงกับรูปภาพไม่สื่อถึงความมีคุณธรรม ผู้สอนจึงเกิดแนวคิดที่ว่า ถ้าลองนำภาพที่เกี่ยวกับนิทานคุณธรรม (สื่อมัลติมีเดีย) ที่ตรงกับเรื่องราวที่กำหนดให้นักเรียนเขียน มาเป็นตัวนำให้เกิดความเข้าใจ ความคิดในการเขียนแสดงความคิดเห็นเพราะการดูผ่านนิทานสื่อมัลติมิเดียใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 จะช่วยให้การเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนมีความลื่นไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดีกว่า การอ่านการดูภาพประกอบหรือคำบอกเล่าเรื่องของครูอย่างเดียว

จุดประสงค์
          เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียน ประชากร/กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย (มิตรครูราษฏร์รังสรรค์) ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  จำนวน 30 คน 
          นวัติกรรม/เครื่องมือ 1. ใช้แผนการสอน (สังคมฯหน่วยที่ 4) ที่ได้ออกแบบไว้ดำเนินการสอนกับกลุ่มตัวอย่าง
                                 2. แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น โดยมีนิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อ
วิธีดำเนินการ
1. ทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ครูกำหนดให้ ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 บรรทัด
2. ตรวจผลงานนักเรียน บันทึกคะแนน โดยแบ่งคะแนนเป็น
          - การแสดงความคิดเห็น และการยกเห็นผลประกอบ

          - การใช้ภาษาไทยในการเขียน
          - ความยาวตามที่กำหนด
3. บันทึกคะแนน
4. สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากภาพที่ครูกำหนดให้
5. ตรวจผลงาน โดยใช้เกณฑ์เดียวกับการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
6. บันทึกคะแนน
7. เปรียบเทียบคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ใช้
แผนการสอนและใบงานการเขียนแสดงความคิดที่ได้ออกแบบไว้ดำเนินการสอนกับกลุ่มตัวอย่าง
          พิจารณาจากคะแนนแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น คะแนนเต็ม 10 คะแนน นำคะแนนของนักเรียนทุกคนมาจัดเป็นระดับความสามารถ โดยมีเกณฑ์ 3 ระดับ  ทำก่อนและหลังดังนี้
          ระดับ 1 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 5–6 คะแนน
          ระดับ 2 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 7–8 คะแนน
          ระดับ 3 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 9– 10 คะแนน
2. บันทึกผลการสอน ความคิดเห็น และความสามารถในการแก้ปัญหาลงในแบบบันทึกข้อมูลทั้งก่อนและหลัง
3. นำผลจากการสอนมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ผู้วิจัยเก็บ
ข้อมูลเพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ การเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อนำวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้
          แสดงค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน

          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน
เลขที่
ก่อนเรียน ( 10 )
หลังเรียน ( 10 )
1
7
9
2
5
7
3
6
8
4
6
8
5
6
8
6
5
7
7
6
8
8
6
8
9
6
8
10
7
9
11
7
9
12
6
8
13
6
8
14
6
9
15
6
8
16
6
8
17
5
8
18
6
8
19
6
8
20
5
7
21
6
9
22
6
8
23
6
9
24
7
9
25
6
8
26
6
8
27
6
9
28
6
8
29
6
8
30
6
9
รวม
180
246


2.  จากตารางพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ร้อยละ 21.33 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นสูงขึ้นจากเดิม
ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนแสดงความคิดเห็นโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น ดังนี้

เลขที่
ก่อนเรียน ( 10 ) 300
หลังเรียน ( 10 ) 300
คะแนนที่เพิ่ม
1
7
9
2
2
5
7
2
3
6
8
2
4
6
8
2
5
6
8
2
6
5
7
2
7
6
8
2
8
6
8
2
9
6
8
2
10
7
9
2
11
7
9
2
12
6
8
2
13
6
8
2
14
6
9
3
15
6
8
2
16
6
8
2
17
5
8
2
18
6
8
2
19
6
8
2
20
5
7
2
21
6
9
3
22
6
8
2
23
6
9
2
24
7
9
2
25
6
8
2
26
6
8
2
27
6
9
3
28
6
8
2
29
6
8
2
30
6
9
3
รวม
180
246
66
ร้อยละ
60
82
22
เฉลี่ย
6.00
8.20
2.2
เฉลี่ยร้อยละ
28.13
38.44
10.31
      

        การทดสอบ            คะแนนเต็ม             ค่าเฉลี่ย                ร้อยละความก้าวหน้า
        ทดสอบก่อนเรียน
          10                 6.00                      (2.2)  22
        ทดสอบหลังเรียน
          10                  8.20

จากตารางการเปรียบเทียบผลคะแนนแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า         
ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 6.00 คิดเป็นร้อยละ 28.13 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละ 38.44 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย  ก่อนเรียน เท่ากับ 2.2 คิดเป็นร้อยละ 10.31 ค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ  22.00

ผลการวิจัย
1. หลังจากที่นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการเขียนโดยมี
นิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อนักเรียนมีพัฒนาการการเขียนแสดงความคิดเห็นดีขึ้นมีความรู้ ความคิดที่จะนำมาเขียน สามารถเขียนด้วยความคิดของตนเอง จะช่วยให้การเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนมีความลื่นไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดี เขียนได้ไม่ต่ำกว่า 5 บรรทัด เขียนแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลใช้ภาษาในการเขียนสละสลวยดีต่อเนื่อง ถ่ายทอดความคิดเห็นออกมาตรงเรื่องราว พัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นดีขึ้นมาก
2. คะแนนความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก
3. นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเขียนแสดงความคิดเห็นมีพัฒนาการคิดที่ดีขึ้น

การสะท้อนความคิดในการวิจัย
1. ครูควรศึกษาความสนใจของนักเรียนและเลือกใช้
นิทานสื่อมัลติมิเดียมาเป็นสื่อหรือสื่ออื่นๆที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกระต้นการเรียนรู้ตรงกับความสนใจของนักเรียน เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนแสดงความคิดเห็นให้เหมาะสมกับนักเรียน
2. ครูควรฝึกฝนให้นักเรียนรู้จักใช้คำ กลุ่มคำ และประโยคที่จะสื่อความหมายได้ตรงตามความคิด และความต้องการอย่างถูกต้อง
และการคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากการฟังนิทาน
3. ครูอาจนำสื่อ
มาใช้สำหรับหัวข้ออื่นๆ ได้อีกตามต้องการที่จะพัฒนาการเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
4.  ครูต้องช่วยสรุปเรื่องราวในนิทานโดยเน้นปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนจะได้มีเจตคติที่ดีในการใช้สื่อและการเขียนแสดงความคิดเห็น



            ทคัดย่อ การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้นิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย มิตรครูราษฏร์รังสรรค์) ตำบลอ้อมน้อยอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  ปีการศึกษา 2561

ผู้วิจัย นางสาวอุษณีย์  นพคุณ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การใช้นิทานสื่อมัลติมิเดียประกอบการเขียนสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  ของนักเรียน และช่วยให้การเขียนของนักเรียนลื่นไหลไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดีกว่า
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย
(มิตรครูราษฏร์รังสรรค์ จำนวน 30 คน
ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ได้ดังนี้
          จากการตรวจแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น ได้ผลดังนี้การเขียนแสดงความคิดเห็นก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 6.00 คิดเป็นร้อยละ 28.13 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละ 38.87 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.2 คิดเป็นร้อยละ 10.31 ค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 22.00
          จากการเปรียบเทียบคะแนนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ร้อยละ 22.00 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นสูงขึ้นจากเดิมแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น


  












ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์ล่าสุดที่ขอแนะนำ

รอบรู้อาเซียน ตอน อาหารอร่อย น่าลอง

อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน National Dishes of ASEAN      ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารของชาวอาเซียนไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก อาหารชนิด...