11 กุมภาพันธ์ 2560

10 เมืองหลวงอาเซียน

เมืองหลวงอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ มีดังนี้
·         ประเทศไทย เมืองหลวงคือ กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยบริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ราว 1,569 ตารางกิโลเมตร มีคนอาศัยอยู่มากกว่า 10 ล้านคน (ทั้งแบบตามทะเบียนบ้านและแบบแรงงานย้ายถิ่น) กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ โดยย้ายเมืองหลวงมาจากกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ฟากตรงข้าม มีแม่น้ำเจ้าพระยากั้นกลาง เนื่องจากกรุงเทพมหานคร (ชื่อเดิมคือจังหวัดพระนคร) มีชัยภูมิที่ดีกว่า ง่ายต่อการรักษาพระนครในกรณีถูกข้าศึกรุกราน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน การบริหาราชการแผ่นดิน การเมืองการปกครองของประเทศไทย และยังแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหารสูงสุด
·         ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
กรุงจาร์กาตาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย เดิมชื่อว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 720 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 13 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนาแน่น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ทันสมัยและสวยงาม กรุงจาร์กาตาเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง แหล่งการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอีกด้วย
·         ประเทศสิงคโปร์ เมืองหลวงคือ สิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ โดยใช้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงเนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมมาลายู มีเนื้อที่เพียง 697 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 5,300,000 คน สิงคโปร์ถึงแม้จะไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่ก็นับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก โดยเป็นศูนย์ทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุนของภูมิภาค และถึงแม้จะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่ก็มีบริษัทต่างชาติมาตั้งสำนักงานจำนวนมากมาย มีสนามบินและระบบขนส่งภายในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้สูง มีแหล่งท่องเที่ยวมีเป็นจุดดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมากมาย
·         ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของบรูไน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงที่มีเนื้อที่ขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 100,000 คน ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ก่อนจะกลับมาใช่ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว
·         ประเทศพม่า เมืองหลวงคือ กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw)
กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า
กรุงเนปิดอว์ถูกสถานปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่าหรือเมียนม่าร์แทนกรุงย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่ามาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ด้วยเหตุผลหลักในด้านการบริหารประเทศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกรุงเนปิดอว์ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศพอดี ปัจจุบันกรุงเนปิดอว์ยังอยู่ในช่วงของการสร้างเมือง ถนนหนทาง แหล่งธุรกิจ โรงแรม ไม่ยังเสร็จสมบูรณ์นัก แต่ด้วยเหตุที่พม่าเพิ่งเปิดประเทศ (หลังจากปิดประเทศมาตั้งแต่สมัยทหารเข้ายึดอำนาจการปกครอง) จึงสามารถกล่าวได้ว่าในประเทศพม่านั้น ถนนทุกสาย นักลงทุนจากทั่วโลก กำลังมุ่งไปสู่กรุงเนปิดอว์ทั้งสิ้น
·         ประเทศลาว เมืองหลวงคือ กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)
กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงลาว
เวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาวในเขตลุ่มแม่น้ำโขง โดยอยู่ติดกับจังหวัดหนองคายของประเทศไทย เวียงจันทน์เป็นเมืองโบราณมีอายุมากกว่าหนึ่งพันปี โดยสถาปนาเป็นเมืองหลวงตั้งแต่สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญที่สุดของประเทศลาว มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด โดยมีประชากรราว 700,000 คน โดยในยุคการล่าอาณานิคม เวียงจันทน์เคยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส
·         ประเทศเวียดนาม เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย (Ha Noi)
กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม
ฮานอยเดิมเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนามเหนือ เมื่อเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามและได้รวมเวียดนามใต้เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว จึงสถาปนาให้ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ (เดิมเมืองหลวงของเวียดนามใต้คือไซง่อน หรือเมืองโฮจิมินห์ในปัจจุบัน) กรุงฮานอยก็เช่นเดียวกับเมืองหลวงอื่นๆในอาเซียนที่เป็นเมืองใหญ่และเมืองสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูยน์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ แต่ในประเทศเวียดนามนั้น เมืองที่ใหญ่ที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางทะเลคือเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
·         ประเทศมาเลเซีย เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย
กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซียนั้นตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ (ใกล้ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ 94 ตารางไมล์ หรือ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ถึงแม้จะมีการย้ายศูนย์การบริหารประเทศไปที่เมืองปุตราจายาแล้ว แต่ส่วนอื่นๆที่สำคัญของประเทศยังอยู่ที่เดิม โดยปกติแล้วชาวมาเลเซียจะเรียกกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า เคแอล, KL” ซึ่งเป็นตัวย่อของ Kuala Lumpur นั่นเอง
·         ประเทศกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
กรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราชธานีพนมเปญ ตั้งอยู่ทางตอนกลาง (ค่อนไปทางใต้ของประเทศ) มีเนื้อที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรหนาแน่นราว 2,000,000 คน พนมเปญถือว่าเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ ในยุคล่าอาณานิคมพนมเปญตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953
·         ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา (Manila)
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ (จากจำนวนมากกว่า 7,000 เกาะ) เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และการอุตสหากรรมของประเทศ ตัวเมืองของกรุงมะนิลามีเนื้อที่เพียง 39 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน แต่ถ้านับชานเมืองด้วยจะมีเนื้อที่ 1,475 ตารางกิโลเมตร แต่จะมีประชากรมากถึง 22 ล้านคน ซึ่งนับว่ามีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาก ในสมัยการล่าอาณานิคม กรุงมะนิลาตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสเปนและอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศสหรัฐอเมริการวม 400 ปี
เมืองหลวงอาเซียนทั้ง 10 เมือง เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า การลงทุน การเงินการธนาคารของประเทศนั้นๆ มีข้อสังเกตุอยู่ข้อหนึ่งคือในความจริงแล้วประเทศสิงค์โปร์นั้นไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นประเทศที่เล็กมาก จึงใช้ประเทศทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงไปเลย ส่วนเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในอาเซียนคือกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย


ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์ล่าสุดที่ขอแนะนำ

รอบรู้อาเซียน ตอน อาหารอร่อย น่าลอง

อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน National Dishes of ASEAN      ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารของชาวอาเซียนไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก อาหารชนิด...