06 กันยายน 2565

 

🌺ประเพณี🌺


ประเพณีวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ขอยกตัวอย่างประวัติความเป็นมาของประเพณีในประเทศไทยแต่ละภูมิภาค เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความศรัทธาของผู้คนในแต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน และได้สืบทอดการปฏิบัติประเพณีนั้น ๆ จากรุ่นสู่รุ่น

                ประเพณีต่างๆ ในประเทศไทยหากแบ่งตามหลักอย่างเป็นทางการจะสามารถแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,ภาคตะวันตก ,ภาคกลาง ,ภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะแบ่งกลุ่มตามลักษณะประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายกันแบบกว้างๆ กล่าวคือมีการรวมภูมิภาคให้เหลือเพียง 4 ภูมิภาค โดยจัดแบ่งดังนี้

  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง : จะรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้าไปด้วย
  • ภาคใต้

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคเหนือ🎊

  • ประเพณีทานขันข้าว
  • ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
  • ประเพณีสลากภัต
  • ประเพณียี่เป็ง
  • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
  • ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ🎈

  • ประเพณีแห่นางแมว
  • ประเพณีแห่ผีตาโขน
  • ประเพณีบุญเบิกฟ้า
  • ประเพณีบุญผะเหวด
  • ประเพณีแซนโฎนตา
  • ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
  • ประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา
  • ประเพณีไหลเรือไฟ
  • ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคกลาง🎉

  • ประเพณีกวนข้าวทิพย์
  • ประเพณีทำขวัญข้าว
  • ประเพณีโยนบัว
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้
  • ประเพณีตักบาตรเทโว
  • ประเพณีกำฟ้า
  • ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคใต้🎡

  • ประเพณีกวนข้าวยาคู
  • ประเพณีให้ทานไฟ
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ
  • ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • ประเพณีลากพระ
  • ประเพณีอาบน้ำคนแก่
  • ประเพณีสวดด้าน
  • ประเพณีแห่นางดาน
  • ประเพณีกวนข้าวยาคู
  • ประเพณียกขันหมากพระปฐม เป็นต้น

     เราได้รวบรวมประเพณีไทยเพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาเบื้องต้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็น  เพียงตัวอย่างประเพณีในประเทศไทยส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีประเพณีต่างๆ ของไทยที่น่าสนใจให้คุณได้ค้นคว้าถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อส่วนบุคคล ความลี้ลับ ส่งผลให้ประเพณีไทยมีความน่าค้นหา น่าพิศวง และน่าสนุกยิ่งขึ้น

👉🎄🎋🌄🌄💓💓💓💓💓💓💓💓👈

20 กรกฎาคม 2564

คลิปโครงงาน รู้จักรู้รักษ์ ประเพณีขันโตก

เมื่อเด็กๆอยากรู้จัก คำว่า ขันโตก 
โครงงาน............จึงต้องมา
รู้จัก รู้รักษ์ ประเพณีไทย
ตอน ประเพณีขันโตก
สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จัดทำโดย

แกนนำนักเรียน 3/1-3/6 ปี 2563
(กำกับ ท่องบท แอคติ้ง จัดสำรับ แบกขันโตก เชิญปราชญ์ชาวเหนือ)
ร่วมก่อการโดย
คุณครูอุษณีย์  นพคุณ
(ช่างกล้อง ตัดกระดาษ ทากาว แนะนำ )



 

02 เมษายน 2563

How to Eat Against Covid - 19..(ENGLISH)






How to Eat Against Covid - 19.
Recommend vegetables, fruits, herbs
 The presence All Of The 19-Covid the In Viru s,.



Recommends vegetables, fruits, herbs In the presence of viral videos cattle - 19.

         Individuals should maintain a healthy lifestyle by eating a full five categories.
         Enough rest day for 6-8 hours.
          Exercise regularly






       If we prepare ourselves to build a healthy and strong by eating foods that contain immune stimulant and has the potential to prevent infection. It is a self-defense Reduce the chance of virus infectionFruits, vegetables, herbs 3 group is preferred.

1. The immunity   
2. groups with higher vitamin C and antioxidants.
3. group with a substance that has the potential to prevent cattle infected men - 19.

       Vegetables, fruit and herbal medicine that stimulates the immune include Plu or vegetable Cawtag various mushrooms    , which contain important is beta-glucan, such as shiitake mushroom, mushroom eringi Ganoderma lucidum and Trila (TISI Thailand anchor Pipek. PE) are offered in the form of drinking boiled water. 
       In addition, fruits and vegetables that are high in vitamin C, such as cassia flower peak gooseberry leaves Nim Leung elite gourd Chiang Da Gac vegetables, kale, horseradish puree the vegetable patch. 
Substance Anthony Saiyan, a substance Flevoland carotenoids. An antioxidant such as mulberry, vegetable and fruit turnovers. It also enhances the function of cells in the immune system as well.


     

        Fruits, vegetables and medicinal herbs of Thailand has the potential to prevent the virus into the cell. Reduces the chance of infection, including fruits and vegetables that contain Kerr, C. Martin ( quercetin,) a high-Plu Cawtag or vegetables, onion, horseradish, onion, apple, mulberry ;
         Fruits and vegetables that contain Hess Perry Morris soil ( Hesperidin) and rutin ( Rutin) high, including the skin and membranes inside the fruit peel of citrus plants ( Citrus Fruit such as oranges, lemons, lime, orange) , sweet basil with Orient. Tin ( Orientin) is a substance that has the potential to prevent the virus into the cell. 
         Orange peel and herbs Mulberry 2   of 6 kinds of traditional Chinese medicine used to drink tea instead of water to prevent pneumococcal disease from infected cattle, David - 19 under the guidance of Hubei Province.   
          The dishes are recommended, such as Thailand, which has wrapped the lemon peel and slice a red onion.  In addition, dietary curry soup Tuff of onion, shallots, mushrooms and lemon juice to make the Kerr's Calendar beta glucan and vitamin C   // drink or herbal drink the recommended   water Tripala which helped.
       



Thailand Department of Medicine and Alternative Medicine.

Department of Medicine, Thailand Thailand Department of Medicine and Alternative Medicine.
Thailand News

Photos from RSS news
cradit \ pixtastock.com



กิน อยู่อย่างไรสู้โควิด - 19

ขอบ ดอกไม้ โปร่งใส - ภาพฟรีบน Pixabay

How to Eat Against Covid - 19
Recommend vegetables, fruits, herbs
 In the presence of the Covid-19 virus



กิน อยู่อย่างไรสู้โควิด - 19
ขอแนะนำผักผลไม้สมุนไพร ในภาวะที่มีไวรัสโควิด-19


-         ประชาชนควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
-         พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
-          ออกกำลังกายเป็นประจำ 





       หากเราเตรียมความพร้อมในการสร้างสุขภาพตนเองให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ก็จะเป็นเกราะป้องกันตนเอง ลดโอกาสติดเชื้อไวรัสได้
ผักผลไม้สมุนไพร 3 กลุ่ม ที่แนะนำ แบ่งเป็น
1. กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน   
2. กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง
3. กลุ่มที่มีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
       ผักผลไม้และยาจากสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่ พลูคาวหรือผักคาวตอง เห็ดต่าง ๆ   ซึ่งมีสารสำคัญคือเบต้ากลูแคน เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ และตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) รับประทานในรูปของน้ำต้มดื่ม 
       นอกจากนี้ ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ยอดสะเดา มะระขี้นก ฟักข้าว ผักเชียงดา คะน้า มะรุม ผักแพว มะขามป้อม 
สารกลุ่มแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารเฟลโวนอยด์   ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ลูกหม่อน และผักผลไม้หลากสี ยังช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันด้วย   

        ผักผลไม้และยาจากสมุนไพรของไทยที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ได้แก่ ผักผลไม้ที่มีสารเคอร์ซีติน (quercetin) สูง ได้แก่ พลูคาวหรือผักคาวตอง หอมแดง หอมหัวใหญ่ มะรุม ใบหม่อน แอปเปิล;
ผักผลไม้ที่มีสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) และรูติน (rutin) สูง   ได้แก่ ผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือกผลของพืชตระกูลส้ม (citrus fruit เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า), กะเพรา มีโอเรียนทิน (orientin) เป็นสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ เปลือกส้มและใบหม่อนเป็นสมุนไพร 2  ในจำนวน 6 ชนิดของตำรับยาจีนที่ใช้ชงดื่มแทนน้ำชาป้องกันปอดบวมอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามแนวทางของมณฑลหูเป่ย   ส่วนเมนูอาหารไทยที่ขอแนะนำ เช่น เมี่ยงคำ ซึ่งมีมะนาวหั่นพร้อมเปลือกและหอมแดง  นอกจากนั้น อาหารจำพวกแกงเลียง ยำ ต้มยำ ต้มโคล้งต่าง ๆ ที่ใส่หอมใหญ่ หอมแดง เห็ดชนิดต่างๆ และมะนาว จะให้ทั้งเคอร์ซีทิน เบต้ากลูแคน และวิตามินซี  //เครื่องดื่มหรือน้ำสมุนไพรที่แนะนำ คือ  น้ำตรีผลา ซึ่งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ 


        นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
สำนักข่าวไทย

รูปจากข่าวไทยรัฐ


15 มิถุนายน 2562

หน้าที่ของเด็กไทยจาก อดีตสู่ ยุคปัจจุบัน




รุ่นครูท่องบัญญัติ 10 ประการ

เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน
 
1. นับถือศาสนา
2. รักษาธรรมเนียมมั่น
3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน 
5. ยึดมั่นกตัญญู
6. เป็นผู้รู้รักการงาน 
7. ต้องศึกษาให้เชียวชาญ ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน
8. รู้จักออมประหยัด 
9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับการสมัยชาติพัฒนา 
10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนาจะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

ทั้งนี้เพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำและเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ




ส่วนรุ่นใหม่ท่องร้องเพลงของลุงตู่

เพลง ค่านิยม 12 ประการ
หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ
หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
แปดรักษา วินัย กฎหมายไทย
เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
สิบเอ็ดต้อง เข็มแข็ง ทั้งกายใจ
สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม

 ค่านิยมหลัก 12 ประการ เป็นนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นโยบายนี้มีขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยและสร้างคนในชาติให้เข้มแข็ง  ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557  
    สำหรับครูู เข้าใจว่า จะยุคสมัยไหน ล้วนมุ่งพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นอนาคต เป็นกำลังของชาติ เป็นรากฐานของประเทศทั้งสิ้น  นอกจากนี้พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย หรือ ว.วชิรเมธี ได้กล่าวว่า การสร้างค่านิมให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องปลูกฝังลงไปในรากฐานจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ด้วย


11 เมษายน 2562

เผยแพร่ งานวิจัย










การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน      การใช้นิทานคุณธรรม (สื่อมัลติมีเดีย) เป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียน แสดงความคิดเห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา       
          จากการสอนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (หน่วยที่ 4 การปฏิบัติตนเป็นคนดี)  ชั้น ป.3 ด้านทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า เมื่อครูกำหนดหัวข้อให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมต่างๆ นักเรียนมักจะไม่สามารถคิดแสดงความคิดเห็นที่เขียนได้มากพอ ไม่อ่านในหนังสือเพิ่มเขียน มักจะติดขัด วกวนและหลายคน เขียนเป็นข้อๆ สั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง สิ่งที่เป็นความคิดไม่ตรงกับรูปภาพไม่สื่อถึงความมีคุณธรรม ผู้สอนจึงเกิดแนวคิดที่ว่า ถ้าลองนำภาพที่เกี่ยวกับนิทานคุณธรรม (สื่อมัลติมีเดีย) ที่ตรงกับเรื่องราวที่กำหนดให้นักเรียนเขียน มาเป็นตัวนำให้เกิดความเข้าใจ ความคิดในการเขียนแสดงความคิดเห็นเพราะการดูผ่านนิทานสื่อมัลติมิเดียใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 จะช่วยให้การเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนมีความลื่นไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดีกว่า การอ่านการดูภาพประกอบหรือคำบอกเล่าเรื่องของครูอย่างเดียว

จุดประสงค์
          เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียน ประชากร/กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย (มิตรครูราษฏร์รังสรรค์) ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  จำนวน 30 คน 
          นวัติกรรม/เครื่องมือ 1. ใช้แผนการสอน (สังคมฯหน่วยที่ 4) ที่ได้ออกแบบไว้ดำเนินการสอนกับกลุ่มตัวอย่าง
                                 2. แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น โดยมีนิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อ
วิธีดำเนินการ
1. ทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ครูกำหนดให้ ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 บรรทัด
2. ตรวจผลงานนักเรียน บันทึกคะแนน โดยแบ่งคะแนนเป็น
          - การแสดงความคิดเห็น และการยกเห็นผลประกอบ

          - การใช้ภาษาไทยในการเขียน
          - ความยาวตามที่กำหนด
3. บันทึกคะแนน
4. สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากภาพที่ครูกำหนดให้
5. ตรวจผลงาน โดยใช้เกณฑ์เดียวกับการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
6. บันทึกคะแนน
7. เปรียบเทียบคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ใช้
แผนการสอนและใบงานการเขียนแสดงความคิดที่ได้ออกแบบไว้ดำเนินการสอนกับกลุ่มตัวอย่าง
          พิจารณาจากคะแนนแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น คะแนนเต็ม 10 คะแนน นำคะแนนของนักเรียนทุกคนมาจัดเป็นระดับความสามารถ โดยมีเกณฑ์ 3 ระดับ  ทำก่อนและหลังดังนี้
          ระดับ 1 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 5–6 คะแนน
          ระดับ 2 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 7–8 คะแนน
          ระดับ 3 นักเรียนได้คะแนนระหว่าง 9– 10 คะแนน
2. บันทึกผลการสอน ความคิดเห็น และความสามารถในการแก้ปัญหาลงในแบบบันทึกข้อมูลทั้งก่อนและหลัง
3. นำผลจากการสอนมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ผู้วิจัยเก็บ
ข้อมูลเพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ การเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อนำวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้
          แสดงค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน

          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน
เลขที่
ก่อนเรียน ( 10 )
หลังเรียน ( 10 )
1
7
9
2
5
7
3
6
8
4
6
8
5
6
8
6
5
7
7
6
8
8
6
8
9
6
8
10
7
9
11
7
9
12
6
8
13
6
8
14
6
9
15
6
8
16
6
8
17
5
8
18
6
8
19
6
8
20
5
7
21
6
9
22
6
8
23
6
9
24
7
9
25
6
8
26
6
8
27
6
9
28
6
8
29
6
8
30
6
9
รวม
180
246


2.  จากตารางพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ร้อยละ 21.33 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นสูงขึ้นจากเดิม
ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนแสดงความคิดเห็นโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น ดังนี้

เลขที่
ก่อนเรียน ( 10 ) 300
หลังเรียน ( 10 ) 300
คะแนนที่เพิ่ม
1
7
9
2
2
5
7
2
3
6
8
2
4
6
8
2
5
6
8
2
6
5
7
2
7
6
8
2
8
6
8
2
9
6
8
2
10
7
9
2
11
7
9
2
12
6
8
2
13
6
8
2
14
6
9
3
15
6
8
2
16
6
8
2
17
5
8
2
18
6
8
2
19
6
8
2
20
5
7
2
21
6
9
3
22
6
8
2
23
6
9
2
24
7
9
2
25
6
8
2
26
6
8
2
27
6
9
3
28
6
8
2
29
6
8
2
30
6
9
3
รวม
180
246
66
ร้อยละ
60
82
22
เฉลี่ย
6.00
8.20
2.2
เฉลี่ยร้อยละ
28.13
38.44
10.31
      

        การทดสอบ            คะแนนเต็ม             ค่าเฉลี่ย                ร้อยละความก้าวหน้า
        ทดสอบก่อนเรียน
          10                 6.00                      (2.2)  22
        ทดสอบหลังเรียน
          10                  8.20

จากตารางการเปรียบเทียบผลคะแนนแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า         
ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 6.00 คิดเป็นร้อยละ 28.13 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละ 38.44 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย  ก่อนเรียน เท่ากับ 2.2 คิดเป็นร้อยละ 10.31 ค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ  22.00

ผลการวิจัย
1. หลังจากที่นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการเขียนโดยมี
นิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อนักเรียนมีพัฒนาการการเขียนแสดงความคิดเห็นดีขึ้นมีความรู้ ความคิดที่จะนำมาเขียน สามารถเขียนด้วยความคิดของตนเอง จะช่วยให้การเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนมีความลื่นไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดี เขียนได้ไม่ต่ำกว่า 5 บรรทัด เขียนแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลใช้ภาษาในการเขียนสละสลวยดีต่อเนื่อง ถ่ายทอดความคิดเห็นออกมาตรงเรื่องราว พัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นดีขึ้นมาก
2. คะแนนความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก
3. นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเขียนแสดงความคิดเห็นมีพัฒนาการคิดที่ดีขึ้น

การสะท้อนความคิดในการวิจัย
1. ครูควรศึกษาความสนใจของนักเรียนและเลือกใช้
นิทานสื่อมัลติมิเดียมาเป็นสื่อหรือสื่ออื่นๆที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกระต้นการเรียนรู้ตรงกับความสนใจของนักเรียน เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนแสดงความคิดเห็นให้เหมาะสมกับนักเรียน
2. ครูควรฝึกฝนให้นักเรียนรู้จักใช้คำ กลุ่มคำ และประโยคที่จะสื่อความหมายได้ตรงตามความคิด และความต้องการอย่างถูกต้อง
และการคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากการฟังนิทาน
3. ครูอาจนำสื่อ
มาใช้สำหรับหัวข้ออื่นๆ ได้อีกตามต้องการที่จะพัฒนาการเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
4.  ครูต้องช่วยสรุปเรื่องราวในนิทานโดยเน้นปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนจะได้มีเจตคติที่ดีในการใช้สื่อและการเขียนแสดงความคิดเห็น



            ทคัดย่อ การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้นิทานสื่อมัลติมิเดียเป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย มิตรครูราษฏร์รังสรรค์) ตำบลอ้อมน้อยอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  ปีการศึกษา 2561

ผู้วิจัย นางสาวอุษณีย์  นพคุณ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การใช้นิทานสื่อมัลติมิเดียประกอบการเขียนสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  ของนักเรียน และช่วยให้การเขียนของนักเรียนลื่นไหลไหล เข้าใจด้านคุณธรรม จริยธรรม และมีแนวทางการเขียนมากขึ้น และอาจจะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเขียนได้ดีกว่า
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น ของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดอ้อมน้อย
(มิตรครูราษฏร์รังสรรค์ จำนวน 30 คน
ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ได้ดังนี้
          จากการตรวจแบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น ได้ผลดังนี้การเขียนแสดงความคิดเห็นก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 6.00 คิดเป็นร้อยละ 28.13 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละ 38.87 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.2 คิดเป็นร้อยละ 10.31 ค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 22.00
          จากการเปรียบเทียบคะแนนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ร้อยละ 22.00 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นสูงขึ้นจากเดิมแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น


  












โพสต์ล่าสุดที่ขอแนะนำ

รอบรู้อาเซียน ตอน อาหารอร่อย น่าลอง

อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน National Dishes of ASEAN      ภูมิปัญญาด้านการทำอาหารของชาวอาเซียนไม่แพ้ภูมิภาคใดในโลก อาหารชนิด...